อริยสัจ 4
คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ เป็นผู้ประเสริฐได้ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
1. ทุกข์ ( ธรรมที่ควรรู้ ) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นสภาพบีบคั้นจิตใจและร่างกายให้ทนได้ยาก เมื่อทุกข์เกิดขึ้น บุคคลจะไม่สามารถละหรือคลายทุกข์ได้ ทุกข์จึงเป็นสภาวะ ที่จะต้องกำหนดรู้เพียงอย่างเดียวว่า นี้ คือความทุกข์ หรือ ปัญหา และต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เป็นธรรมดาของสัตว์โลกต้องปล่อยวางจึงจะทำให้ทุกข์บางเบาลงได้
2. สมุทัย (ธรรมที่ควรละ ) หมายถึง ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์หรือ ปัญหา หรือ ความต้องการ หรือ ความอยาก ที่เรียกว่า "ตัณหา" ความอยากเกินควร หรือ ความทะยานอยากของจิต ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน อย่างหลงระเริง ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ มี 3 ประกายคือ
1. กามตัณหา คือความปรารถนาในกามไม่หยุดหย่อน หรือ ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่ อยากได้ อยากมี
2. ภวตัณหา คือ อยากเป็น ไม่เพียงพอ หรือ ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ และ
3. วิภวตัณหา คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็นจนทุกข์ หรือ ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น
2. ภวตัณหา คือ อยากเป็น ไม่เพียงพอ หรือ ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ และ
3. วิภวตัณหา คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็นจนทุกข์ หรือ ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น
3. นิโรธ ( ธรรมที่ควรบรรลุ ) หมายถึง สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้นไป สภาพที่ปราศจากทุกข์ มีแต่ความสงบร่มเย็น สภาวะที่จัดเป็นนิโรธนี้ถือเป็นที่สูงสุด ในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ เป็นยอดปรารถนาของคนทั่วไปคือความดับทุกข์
4. มรรค ( ธรรมที่ควรเจริญ ) หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการมีสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ เป็นต้น โดยมรรคทั้ง 8 ประการนี้บุคคลจะต้องปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในตนครบทั้ง 8 ประการ จึงสามารถถึงความดับทุกข์ได้
คุณค่าของอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 ไม่เพียงแต่เป็นหลักความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักแห่งเหตุและผล แต่ยังถือว่าเป็นหลักการสำคัญในการแก้ปัญหาชีวิตอีกด้วย เช่น นิกรเสียใจเพราะสอบวิชาคณิตศาสตร์ไม่ผ่าน เมื่อนำหลักการแก้ปัญหาแบบอริยสัจมาแก้ปัญหาดังกล่าวก็ได้ดังนี้
เมื่อเกิดความเสียใจเพราะสอบไม่ผ่าน (ทุกข์) ก็จะต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใดซึ่งในที่นี้ได้แก่ ความอยากสอบผ่าน (ตัณหา) หากต้องการหายจาก (ทุกข์)(ก็ดับต้องดับความอยาก(วิภวตัณหา)โดยหาสาเหตุของการสอบไม่ผ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น